วันจันทร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2551




จิรพรรณ แสงหล้า (2532 : 9) ให้ความหมายโครงงานวิทยาศาสตร์ว่า เป็นการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามความถนัดหรือความสนใจของนักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติและศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ภายใต้การแนะนำปรึกษาช่วยเหลือ และดูแลจากอาจารย์ที่ปรึกษา หรือผู้ทรงคุณวุฒิ โครงงานวิทยาศาสตร์ อาจจัดในเวลาเรียนหรือนอกเวลาเรียนก็ได้ รวมทั้งสามารถดำเนินกิจกรรมได้ทั้งใน และนอกบริเวณโรงเรียน ซึ่งอาจเป็นรายกลุ่ม หรือรายบุคคลก็ได้
ประภาพร สุวรรณรัตน์ (2533 : 16) ให้ความหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์ว่าเป็นกิจกรรม ประกอบด้วยกระบวนการแก้ไขปัญหาทางวิทยาศาสตร์ มีการปฏิบัติตามขั้นตอนที่วางไว้ โดยใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ จนโครงงานนี้สัมฤทธิ์ผล เป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตร ในรายวิชาวิทยาศาสตร์
กมล เฟื่องฟุ้ง (2534 : 13) ให้ความหมายโครงงานวิทยาศาสตร์ว่าเป็นการศึกษา ในเรื่องที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อตอบข้อสงสัยหรือปัญหาที่พบตามความสนใจและระดับความรู้ความสามารถของนักเรียน โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์อันประกอบด้วยการ ระบุปัญหา การตั้งสมมติฐาน การพิสูจน์หรือทดลอง ตลอดจนการสรุปผล และการนำไปใช้ ซึ่งนักเรียนจะต้องเป็นผู้เลือกปัญหาวางแผนปฏิบัติ ลงมือปฏิบัติ และสรุปผลด้วยตนเองโดยมี ครูเป็นที่ปรึกษา
ฟอร์เลอร์ (Fowler.1964 : 91-93) ให้ความหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์ว่า เป็นการศึกษาโครงสร้าง และวิธีการแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยเขียน เป็นโครงงาน เพื่อเป็นแนวทางการศึกษาต่อ และมีการปฏิบัติตามแนวทางที่วางไว้เพื่อให้โครงงานสัมฤทธิ์ผล


เรื่อง ความหมายและคุณค่าของโครงงานวิทยาศาสตร์

กระทรวงศึกษาธิการ (2533 : 5) ให้ความหมายโครงงานวิทยาศาสตร์ว่า เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้า และลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง ภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาของครูอาจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิตั้งแต่การเลือกหัวข้อที่ จะศึกษาค้นคว้า ดำเนินการวางแผน ออกแบบประดิษฐ์ สำรวจ ทดลอง เก็บรวบรวมข้อมูลรวมทั้งการแปลผล สรุปผล และการนำเสนอผลงาน
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2529 : 1-2) ให้ความหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์ว่า เป็นการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของนักเรียนตามควานใจ และระดับความรู้ความสามารถ ภายใต้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อตอบปัญหาที่สงสัยได้ผลงานที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การทำโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นส่วนหนึ่งของการทำกิจกรรมเสริมด้านวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยี โดยนักเรียนเป็นผู้วางแผนการศึกษาค้นคว้า ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล สรุปผลและเสนอผลการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ มีเจตคติ ทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งได้ฝึกฝนทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ครูอาจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นเพียงผู้ให้การปรึกษา ธีรชัย บูรณโชติ (2531 : 1) ให้ความหมายโครงงานวิทยาศาสตร์ว่า เป็นการศึกษา เรื่องราวเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งนักเรียนเป็นผู้ลงมือปฏิบัติและศึกษาค้นคว้าด้วย ตนเอง โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ภายใต้คำแนะนำปรึกษาและการดูแลของครู หรือผู้เชี่ยวชาญ ในเรื่องนั้นๆ อาจจะใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ ช่วยในการศึกษาค้นคว้านั้นบรรลุตามวัตถุประสงค์

คุณค่าของโครงงานวิทยาศาสตร์

กระทรวงศึกษาธิการ (2533: 7-8) ได้สรุปคุณค่าของโครงงานวิทยาศาสตร์ไว้ ดังนี้
1. สร้างความสำนึก และรับผิดชอบในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้านต่างๆ ได้ด้วย ตนเอง
2. เปิดโอกาสให้กับนักเรียนทุกคนได้พัฒนา และแสดงความสามารถตามศักยภาพ ของตนเอง
3. เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้า และเรียนรู้ในเรื่องที่ตนเองสนใจได้ลึกซึ้ง ไปกว่าการเรียนในหลักสูตร
4. ทำให้นักเรียนมีความสามารถพิเศษ ได้มีโอกาสแสดงความสามารถของตนเอง
5. ช่วยกระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ และมีความสนใจ
ที่จะประกอบอาชีพทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น
6. ช่วยให้นักเรียนได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในทางสร้างสรรค์
7. ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน และระหว่างนักเรียนด้วยกันให้มีโอกาส ใกล้ชิดกันมากขึ้น
8. ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับโรงเรียนให้ดีขึ้น โรงเรียนได้มีโอกาสเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่ชุมชน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ชุมชนได้สนใจวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมากขึ้น









ไม่มีความคิดเห็น: